เหตุผลดีๆ ที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี

ในปัจจุบันนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปีกันมากขึ้น และมองหาโปรแกรมตรวจสุขภาพ ที่สามารถตอบโจทย์กับตามช่วงวัยของแต่ละบุคคล ซึ่งในแต่ละโรงพยาบาลมีการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่หลากหลาย จนไม่รู้ว่าควรเลือกอย่างไรดี การที่เรามีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองอย่างถูกต้อง จะสามารถทำให้เราเลือกการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสม แต่ก่อนอื่นเราควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีก่อนว่าคืออะไรและทำไปเพื่ออะไร

การตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไร

คือ การตรวจเพื่อส่งเสริมสุขภาพในทุกเพศวัย เพื่อรู้ทันความผิดปกติก่อนที่จะเกิดโรค นำไปสู่การป้องกันและวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที เป็นการคัดกรองโรคเบื้องต้น และเป็นการหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะได้รีบรักษาดูแล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ การดูแลและรักษาสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับทุกคน เนื่องจากร่างกายและอวัยวะต่างๆของเราทำงานอยู่ตลอดเวลา และเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมมีการเสื่อมสภาพหรือบกพร่องไปแต่เราก็สามารถดูแลและตรวจสอบสภาพร่างกายของเราได้โดยการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายเราตั้งแต่ ในระยะแรกๆ ซึ่งยังไม่มีอาการ อันได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถรักษาโรคต่างๆได้ทันท่วงที ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาทั้งนี้การตรวจสุขภาพประจำปี จึงมีประโยชน์ต่อตัวผู้รับการตรวจเพื่อจะเป็นการส่งเสริม ป้องกัน และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

ข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไร

ข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปี คือ การที่เราสามารถตรวจพบโรคต่างๆได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ทำให้เราได้รับการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากจนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง หรือหากตรวจพบว่ายังไม่เป็นโรค แต่มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรค เราก็จะได้ดูแลป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดโรค และเฝ้าระวังติดตามปัญหาสุขภาพนั้นอย่างใกล้ชิด การตรวจสุขภาพประจำปีไม่ได้เป็นเพียงการตรวจหาโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ในร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางการเรียนรู้ร่างกายของตัวเอง เราจะทำให้เห็นจุดที่อาจจะบกพร่องในอนาคต หรือจุดที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหากไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้บางคนอาจไม่รู้ว่าตนเองมีโรคที่ถูกส่งต่อผ่านพันธุกรรมหรือไม่ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นการวางแผนสุขภาพในอนาคต หากพบเจอความเสี่ยง สามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกัน ดูแลและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเพิ่มขึ้นได้เพราะฉะนั้นแล้วควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการตรวจสุขภาพ

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6- 8 ชั่วโมง เนื่องจากการนอนไม่พออาจส่งผลต่อความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ
  • กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้)
  • เลือกสวมเสื้อผ้าที่สบายและสะดวกต่อการเจาะเลือด
  • กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง
  • ยารักษาโรคประจำตัวสามารถทานก่อนตรวจสุขภาพได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ
  • หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเต้านมมีความคัดตึง ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือน

*** กรณีสงสัยตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ ***

รายละเอียดการตรวจสุขภาพ

การตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination) คือ ขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค วินิจฉัยแยกโรค ประเมินวิธีการรักษา ติดตาม ผลการรักษา และประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC : Complete Blood Count) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ ความเข้มข้นของเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด สามารถใช้วัดสุขภาพ โดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งอาจบอกถึงสภาวะผิดปกติเช่น ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำนวนเกล็ดเลือด รวมถึง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile : Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL) คือ การเช็คระดับไขมันทุกส่วนประกอบของเส้นเลือดในร่างกายทั้งหมด เช่น ไขมันชนิดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันชนิดเลว และไขมันชนิดดี ว่ามีการไหลเวียนที่ปกติหรือมีปริมาณการอุดตันในหลอดเลือดมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำผลการตรวจระดับไขมันในเลือดไปวินิจฉัยภาวะโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะขาดเลือดเช่น โรคหัวใจ (Heart disease) และภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงจาเกิดการอุดตันอย่าง โรคหลอดเลือดตีบตัน (Arteriosclerosis)

ตั้งแต่ปากไปจนถึงลำไส้ใหญ่ (กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก) ปนมากับอุจจาระบ้างหรือไม่ นำไปสู่การวินิจฉัยคัดกรองโรคต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นต้น

เหตุผลดีๆ ที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS : Fasting Blood Sugar) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน

ตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสมในร่างกาย (HbA1C : Hemoglobin A1C) เพื่อใช้ติดตามควบคุมโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน ดูระดับความเข้มข้นเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด 2-3เดือนที่ผ่านมา

ตรวจการทำงานของไต (Renal function test: BUN, Cr, eGFR) คือ การตรวจดูสมรรถภาพการทำงานของไตได้จากการตรวจเลือดและการตรวจปัสสาวะ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วจะประกอบไปด้วยการตรวจ BUN Creatinine และ eGFR ทั้งนี้ก็เพื่อดูว่าไตสามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดขับทิ้งปัสสาวะได้เป็นปกติหรือไม่

เหตุผลดีๆ ที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจการทำงานของตับ (Liver Function test: SGOT, SGPT, Alk Phos, Bilirubin, Albumin, Globulin, GGT) ใช้ตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัย หรือติดตามการรักษา โรคที่เกี่ยวกับตับ ทางเดินน้ำดี โดยตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน

ตรวจระดับกรดยูริก (Uric Acid) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ (Gout)

ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4) เป็นการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อวินิจฉัยและเตรียมการป้องกันต่อไป

ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ได้แก่ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)และมะเร็งตับอ่อน (CA 19-9) ในสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี การตรวจมะเร็งรังไข่ (CA 125) ในสุภาพสตรี และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษ

เหตุผลดีๆ ที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์ (Anti HIV, VDRL) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (UA:Urinalysis) คือ การตรวจวิเคราะห์น้ำปัสสาวะเพื่อดูลักษณะทางกายภาพ สารเคมี และตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ เพื่อค้นหาความผิดปกติและประเมินความเสี่ยงในบางโรคเบื้องต้นจากน้ำปัสสาวะ

ตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Stool Occult Blood) เพื่อวินิจฉัยโรคโดยที่ยังไม่มีอาการของโรคใดๆว่า มีเลือดแฝงออกมาในช่องทางเดินอาหารตั้งแต่ปากไปจนถึงลำไส้ใหญ่ (กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก) ปนมากับอุจจาระบ้างหรือไม่ นำไปสู่การวินิจฉัยคัดกรองโรคต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นต้น

เหตุผลดีๆ ที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี

เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการวินิจฉัยโรคหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า Electrocardiography เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เพื่อดูความผิดปกติเช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ เต้นผิดปกติ

ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound Whole Abdomen) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้องเช่น ตับ ม้ามไต ถุงน้ำดี และช่องท้องทั่วไป

ตรวจมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram and Ultrasound) คือกระบวนการตรวจโดยใช้เอกซเรย์พลังงานต่ำเพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

ตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear /Thin Prep) เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

เหตุผลดีๆ ที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เปิดบริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 7:30 – 17:00 น.
เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการรับบริการ กรุณานัดหมายล่วงหน้าที่
โทร. 089-939-4910 หรือ 02-115-2111 ต่อ 1181