รีแพร์ กระชับช่องคลอด คืนความมั่นใจให้ผู้หญิง

การคบหาดูใจและการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน นอกจากความรัก ความเข้าใจแล้ว ความสุขทางเพศก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญ หากคุณและคนรักมีความสุขด้วยกันทั้งคู่ก็นับว่าโชคดี แต่บางคู่อาจมีปัญหาในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ โดยมีสาเหตุมาจากผู้หญิงมีปัญหาช่องคลอดหลวม ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้หญิงทุกคน คนจำนวนมากจึงให้ความสนใจกับการทำรีแพร์ เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยทำให้มีความสุขในเรื่องเพศมากขึ้น

รีแพร์ (Repair) หรือ การซ่อมแซม คือ การผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอดให้กระชับขึ้น เพื่อให้ขนาดหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดเล็กลงและเกิดการหดรัดที่ดีกว่าเดิม โดยเป็นการผ่าตัดตลอดแนวความลึกของช่องคลอด รวมถึงการผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดด้วย

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เข้ารับการผ่าตัดทำรีแพร์จะมีอายุประมาณ 30-50 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการแต่งงานและผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว โดยจะเป็นการผ่าตัดในแง่ของการศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงามและความมั่นใจ สำหรับผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือวัยทอง จะเป็นการผ่าตัดในแง่ของการรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนนั่นเอง

ภาวะ อุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะ กระบังลมหย่อน มี 3 แบบ ได้แก่

  1. การหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดส่วนหน้า ซึ่งจะมีกระเพาะปัสสาวะหย่อนตาม หรือ กระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน หรือมีก้อนจุกที่ปากช่องคลอด ในกรณีนี้ แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดส่วนหน้า (Anterior Vaginal Repair)
  2. การหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดส่วนหลัง ซึ่งจะมีลำไส้ส่วนทวารหนักหย่อนตาม หรือ ลำไส้หย่อน (Rectocele) ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน หรือมีก้อนจุกที่ปากช่องคลอด รวมถึงท้องผูก เพราะผนังที่ยื่นเป็นถุงเข้าไปทางช่องคลอดจะทำให้การขับถ่ายผิดปกติ ในกรณีนี้ แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดส่วนหลัง (Posterior Vaginal Repair)
  3. มีการหย่อนคล้อยของผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง ในกรณีนี้ แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัดรีแพร์ผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง (A-P Repair หรือ Anterior-Posterior Vaginal Repair)

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดทำรีแพร์ เช่น เสียเลือดมาก เกิดการติดเชื้อ ผนังกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ทะลุ หากผ่าตัดบริเวณฝีเย็บสูงเกินไปอาจทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อวัยวะเพศอาจผิดรูปร่างไปทำให้ไม่เป็นที่พอใจได้ เป็นต้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำรีแพร์ ได้ คือ ผู้ป่วยเบาหวาน เพราะแผลอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ, ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศภายใน 1 สัปดาห์ และผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเดินทางบ่อยๆ เพราะ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดแผลแยก แผลอักเสบ และฉีกขาด

การทำรีแพร์ควรทำในช่วงที่ประจำเดือนหมดไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการอักเสบของแผลและการปนเปื้อนของเลือดในระหว่างการผ่าตัด ควรตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูกให้เรียบร้อย เนื่องจากหลังผ่าตัดจำเป็นจะต้องงดตรวจไปสักระยะหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันแผลผ่าตัดถูกกระทบกระเทือน ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

หลังทำ รีแพร์ ผู้ป่วยต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ 2 เดือน งดออกกำลังกาย 1 เดือน ไม่ยกของหนัก พยายามเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด เดินให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันแผลแยกและเกิดการอักเสบ พักผ่อนให้มาก รับประทานอาหารได้ตามปกติ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดด้วยน้ำสะอาดในเวลาเช้า-เย็น รวมถึงหลังจากปัสสาวะ-อุจจาระทุกครั้ง และกลับมาพบแพทย์ตามนัด การทำรีแพร์ เป็นการผ่าตัดในบริเวณที่มีเลือดไหลเวียนมาหล่อเลี้ยง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ปรึกษาได้ทุกวัน 8:00 – 18:00 น.
โทร. 091-770-6640 หรือ 02-115-2111 ต่อ 1189