ฝ้า (Melasma) คืออะไร
ฝ้า เป็นภาวะที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ที่เป็น นำมาซึ่งการสูญเสียความมั่นใจในตนเองของผู้ป่วย พบมีรายงานการเกิดฝ้าได้ในทุกเพศ แต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ช่วงอายุที่พบบ่อยคือตั้งแต่ 20 ถึง 40 ปี ความชุกของฝ้าแปรฝันขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ สีผิวและการโดนแสงแดด โดยฝ้าพบมากในคนกลุ่มเชื้อสายเอเชีย
ฝ้ามีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาล ที่มีขอบเขตไม่ชัด มักเป็นเท่ากันทั้งสองข้างของร่างกาย โดยลักษณะของฝ้าที่พบเป็นได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน จนถึง สีน้ำตาลเข้ม หรือ น้ำตาลเทาขึ้นอยู่กับความลึกของฝ้าในชั้นผิวหนัง ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะโหนกแก้ม หน้าผาก จมูก เหนือริมฝีปากบน และคาง
ปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดฝ้าและสามารถกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้นได้ มีทั้งปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน รวมถึงกรรมพันธุ์ ซึ่งปัจจัยหลักๆเหล่านี้ได้แก่
- แสงแดด เป็นปัจจัยหลัก ที่สำคัญในการก่อให้เกิดฝ้า และกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น ทั้งใน เพศชายและเพศหญิง แสงแดดโดยเฉพาะรังสียูวี (UV) จะไปกระตุ้น โดยตรงให้เซลล์สร้างเม็ดสีมีการผลิตเม็ดสีมากขึ้น นอกจากรังสียูวีแล้ว ยังพบว่าในแสงแดดยังมีรังสี อินฟราเรด (infrared radiation) ที่ก่อให้เกิดความร้อน และ แสงในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ (visible light) ที่สามารถ กระตุ้นการสร้างเม็ดสีได้เช่นเดียวกัน ทำ ให้พบว่าตำแหน่งที่ มักจะเป็นฝ้ามักเป็นตำแหน่งที่โดนแดดปริมาณมาก
- ฮอร์โมน ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (progesterone) สัมพันธ์กับการเกิดฝ้า ดังจะเห็นได้จากในคน ที่ตั้งครรภ์บางคนมีฝ้าเกิดขึ้นใหม่ หรือในคนที่เป็นฝ้าอยู่เดิม อาจจะมีฝ้าเข้มมากขึ้นโดยเฉพาะฝ้าบริเวณใบหน้า และฝ้ามัก จะดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากคลอดบุตร นอกจากนี้ ในคนที่ทานยาคุมกำ เนิด หรือคนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนใน การรักษาโรคต่างๆ ยังพบมีการกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
- ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าประมาณร้อยละ 48 ของคนที่เป็นฝ้ามักจะมีประวัติคนในครอบครัว เป็นฝ้าเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น บิดา มารดา พี่ หรือน้อง นอกจากนี้ยังเคยมีการศึกษาพบความสัมพันธ์ ระหว่างการเกิดฝ้ากับความผิดปกติของยีนบางชนิดอีกด้วย
การรักษาฝ้านั้นค่อนข้างยาก และใช้เวลานาน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดที่รักษาฝ้าได้แบบหายขาด แต่สามารถรักษาให้จางลง เข้มลงได้ เช่น
- การหลีกเลี่ยงแสงแดด เฉพาะช่วงเวลาระหว่าง 10 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงเย็น และ การใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่สำาคัญ ในการป้องกันและรักษาฝ้า
- ยาทา เป็นการรักษาหลักในการรักษาฝ้า มีหลายชนิด ได้แก่
- Hydroquinone เป็นยาที่ใช้บ่อย ในการรักษาฝ้า โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาจะทำ ให้มี การสร้างเม็ดสีเมลานินลดลง ผ่านการยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ ในการผลิตเม็ดสี (tyrosinase) และยังสามารถทำลาย เซลล์สร้างเม็ดสีได้โดยตรง แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
- กรดวิตามินเอ จะทำ ให้มีการแบ่งตัวของผิวหนังเร็วมากขึ้น มีการผลัดและหลุดลอกของผิวหนังชั้นบนมากขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการยับยั้ง การส่งต่อของเม็ดสีจากเซลล์สร้างเม็ดสีไปที่เซลล์ผิวหนัง ยับยั้งการสร้างเม็ดสี ลดการอักเสบของผิวหนัง โดยผลข้างเคียงของยาที่อาจพบได้ คือ ทำ ให้มีการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีอาการ แห้ง ลอก แสบ แดง
- ยาทาชนิดอื่นๆ เช่น สารสกัดจากถั่วเหลือง, กรดโคจิก (kojic acid), กรดไกลคอลิก (glycolic acid), กรดซาลิไซลิก (salicylic acid), ลิโคริช (licorice), วิตามินอี, arbutin, mulberry extract, niacinamide เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์อ่อนในการรักษาฝ้า แต่ข้อดี คือมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย อาจจะได้ผลดีในกรณี ใช้ร่วมกับการรักษาฝ้าด้วยยาชนิดอื่นๆ หรือในคนที่เป็นฝ้าไม่มาก
- การรักษาด้วยเลเซอร์ โดยอาจใช้เป็นทางเลือกเสริม คู่กับ การทายารักษาฝ้า ซึ่งอาจจะทำาให้ฝ้าจางลงเร็วขึ้น การเลือกใช้เลเซอร์มักเลือกกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดแผลบริเวณผิวหนัง เช่น Picosecond laser, Q-switched Nd:YAG laser, Q-switched ruby laser เป็นต้น